ท้อแท้ สิ้นหวังใช่ไหม….
RainbowSue NFT สัญลักษณ์ของความหวัง จงอดทนต่อพายุฝน เพื่อพบกับสายรุ้งที่สวยงาม
ชวนพรีวิวงานศิลปะของปัณพัท ก่อนการขายที่ป๊อปอัพอีเวนต์ Spread the Rainbow เสาร์ที่ 29 – อาทิตย์ที่ 30 กรกฎาคมนี้ ที่เซ็นเตอร์พอยท์ สยามสแควร์
(26 กรกฎาคม 2566) Spread the Rainbow ป๊อปอัพอีเวนต์ แสดงผลงาน NFT Art ของศิลปินชื่อดัง ปัณพัท เตชเมธากุล ที่ผสานงานศิลปะเข้ากับนวัตกรรมได้อย่างน่าตื่นเต้น เปิดให้พรีวิวกันแล้วในวันที่ 29 – 30 กรกฎาคม 2566 ที่เซ็นเตอร์พอยท์ สยามสแควร์ ครั้งแรกที่จะได้ชมชิ้นงานไฮไลท์จาก RainbowSue คอลเลคชั่น ทั้งหมด 5,555 ชิ้น ออกแบบในคอนเซ็ปต์ของการยอมรับความแตกต่าง จิตวิญญาณที่ชื่นชอบความสนุกสนาน ชอบเข้าสังคม พร้อมเรียนรู้และเติบโตไปด้วยกัน แต่ละชิ้นมีความแตกต่าง เป็นแรร์ไอเทมที่น่าสะสม
RainbowSue คือการผสาน physical art เข้ากับ NFT แต่ละชิ้นงาน digital นักสะสมจะสามารถ เคลมชิ้นงาน figure ที่ดีไซน์พิเศษออกมาชิ้นเดียวและฝังชิพเทคโนโลยี NFC เพื่อใช้ยืนยันสิทธิ์และรับรองความแท้จริง ของงานเพื่อป้องกันการปลอมแปลงและลอกเลียนแบบ
ปัณพัท เตชเมธากุล หรือ ยูน กล่าวว่า “เรากำลังสร้างผลงาน Fine Art ในระบบ blockchain ในราคาที่ผู้ที่ชื่นชอบงานศิลปะทุกคนสามารถเข้าถึงได้ งานป๊อปอัพอีเวนต์จะจัดแสดงผลงานศิลปะที่เป็น physical ที่ใช้เทคโนโลยี NFC ลิงค์กับชิ้นงาน digital ให้ได้สะสมทั้งสองชิ้นงาน เป็นการรวม physical art กับ digital art โดยใช้ blockchain และมอบ utility ให้กับนักสะสมงานศิลปะ”
Spread the Rainbow ป๊อปอัพอีเวนต์ ทั้ง 2 วัน จะแสดงงานศิลปะที่เป็นสัญลักษณ์ของความหวัง ความอดทน และมุ่งมั่น เพื่อร่วมกันเปลี่ยนแปลงไปสู่โลกที่ดีกว่า นอกจากนี้ ผู้ชมจะได้ร่วมกิจกรรมต่างๆ ทั้ง พรีเซลล์และจองสิทธิ์เข้างานเซลล์ การตกแต่ง RainbowSue อิ่มอร่อยกับไอศกรีม บูทถ่ายภาพ และลุ้นรางวัลมากมาย
คุณยูน ปัณพัท ศิลปินและนักออกแบบร่วมสมัยชาวไทย ที่เกิดและเติบโตในกรุงเทพฯ หลังจบการศึกษาด้าน Fashion Design จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เธอได้ร่วมงานกับบริษัทแฟชั่นในตำแหน่ง creative director ก่อนที่จะเริ่มทำสตูดิโอ art & design ของตัวเอง ผลงานของเธอมักได้รับแรงบันดาลใจจากเรื่องราวในวัยเด็กและความหลงใหลในธรรมชาติ เธอมักเปรียบเปรยและส่งสารผ่านผลงานศิลปะให้ผู้ชมได้สำรวจและมองโลกผ่านมุมมองของเธอ คุณยูนสร้างผลงานร่วมกับแบรนด์ชื่อดังระดับประเทศมากมาย อย่าง Gucci, Bang and Olufsen, Nescafé, Nike, Sulwhasoo และ Instagram
“ยูนสร้าง RainbowSue เมื่อหลายปีก่อนในช่วงที่กำลังตั้งคำถามเกี่ยวกับการทำงาน การประสบความสำเร็จและการใช้ชีวิตของตัวเอง จนวันนึงได้มีโอกาสคุยกับคุณแม่ ท่านให้ข้อคิดว่า ‘สิ่งที่เรากับลังเผชิญอยู่ ถึงเราอยากจะประสบความสำเร็จ หรือได้ทุกอย่างตามใจ แต่ทุกอย่างบนโลกใบนี้ไม่ได้มาง่ายขนาดนั้น ทุกคนต้องพยายาม ฝ่าฟันอุปสรรค และต่อสู้จนสุดความสามารถเพื่อให้สิ่งนั้นมา’ ขณะนั้นเพลง If You Want The Rainbow (You Must Have The Rain) ก็ดังขึ้น มันเป็นข้อความที่ทรงพลังจริงๆ เป็นเส้นทางเพื่อไขว่คว้าในสิ่งที่ต้องการ เป็นปีที่ยูนได้รับแรงบันดาลใจในการวาด RainbowSue เพื่อเป็นกำลังใจให้ตัวเอง ในการทำงาน ส่วนซูคือชื่อเล่นภาษาจีนของคุณแม่ RainbowSue เป็นสัญลักษณ์แห่งความหวัง ถึงแม้อุปสรรคจะถาโถมเข้ามา แต่เราก็ยังเฝ้ารอวันที่จะมีสายรุ้งหลังพายุฝนอย่างอดทน” ปัณพัทกล่าว
ในวันที่ 23 สิงหาคม 2566 โครงการ RainbowSue Fine Art NFT จะเปิดขายให้ประชาชนทั่วไป ผ่านทาง Labelled Launchpad ในรูปแบบ Mystery box หรือกล่องสุ่ม ทั้งในช่องทางแบบออนไลน์ทั่วไปและในช่องทาง blockchain
แบรนด์ RainbowSue ยังมีอีเวนต์สนุกๆสุดเอ็กซ์คลูซีฟอีกมากมายที่จัดโดย Labelled ทั้ง private party นิทรรศการศิลปะ อีเวนต์จาก sponsor และ partner ต่างๆ งาน meet & greet ศิลปิน และอีเวนต์ออนไลน์ต่างๆ ที่จะเริ่มจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วขยายไปทั่วโลก กิจกรรมดังกล่าวจะช่วยสร้างเครือข่ายใหม่ๆ และโอกาสที่ได้พบเจอกับบุคคลที่มีแนวคิดเดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีการร่วมงานแบรนด์ต่างๆไม่ว่าจะเป็น แบรนด์แฟชั่นและความงาม การลงทุน และโปรเจคคริปโตที่มีชื่อเสียง ซึ่งทุกอย่างถูกผูกไว้กับหัวใจหลักของ RainbowSue คือการยอมรับในความแตกต่าง ความมีชีวิตชีวา และสนุกสนานไปกับทุกๆสิ่งที่ทำ
เทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปส่งผลต่อการเข้าถึงลูกค้าของแบรนด์ Shawn Lim CEO ของ Labelled กล่าวว่า: “Labelled นำแพลตฟอร์มโซเชียลและอีคอมเมิร์ซที่ขับเคลื่อนด้วย blockchain มาเพิ่มประสิทธิภาพของพลัง social network และ user-generated content เพื่อช่วยกระตุ้นยอดขายและสร้างประสบการณ์การช้อปปิ้งที่ลูกค้ามีส่วนร่วมมากขึ้น กล่าวโดยสรุปคือ Labelled ช่วยให้แบรนด์สร้างตัวตนดิจิทัลของสินค้า ที่ลูกค้าสามารถจัดการ สะสม โชว์ และซื้อขายได้ เป็นการนำโลกของ Web 3 มาสู่ธุรกิจการค้าปลีกอย่างสมบูรณ์”