Session 4 สวยปลอดภัยไม่ดื้อโบได้อย่างไร?
Speaker: พญ.สรวลัย รักชาติ
คำถาม
- ภาวะดื้อโบคืออะไร มีอาการอย่างไร
คำตอบ: ดื้อโบ จริงๆ แล้ว เหมือนดื้อยา เพราะเป็นภาวะที่ร่างกายเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านการออกฤทธิ์ของโบทูลินั่ม ท็อกซิน โดยมีอาการหลักๆ คือ การฉีดโบในครั้งล่าสุด ไม่ได้ผลลัพธ์ดีเท่าครั้งก่อนหน้า เช่น
- ฉีดปริมาณเท่าเดิม แต่เมื่อมีภาวะดื้อโบ อาจเห็นผลลัพธ์แค่ 40-50% ทำให้ต้องใช้ขนาดยามากขึ้นกว่าเดิม
- ปกติฉีดโบเห็นผลลัพธ์นานถึง 4 – 6 เดือน แต่พอมีภาวะดื้อโบ ผลลัพธ์ เหลือเพียง 1 – 2 เดือน
- หรือที่รุนแรงที่สุด ก็คือ ฉีดโบแล้วไม่เห็นผลการรักษาเลย เหมือนฉีดน้ำเปล่าเข้าหน้า
- พฤติกรรม หรือ สาเหตุอะไรบ้างที่เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการดื้อโบ
คำตอบ: ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการที่รับโบหรือฉีดโบ เข้าร่างกายบ่อยๆ เกินความจำเป็น บ่อยๆ คือ ถี่กว่า 3 – 6 เดือน หรือใช้โดสเยอะในการฉีด ตามคำแนะนำของแพทย์ในการเว้นระยะการฉีดต่อครั้ง ยุคนี้บางคนจะมีพฤติกรรมฉีดนิดฉีดหน่อยแต่ไปคลินิกบ่อยๆ นี่แหละ ที่กระตุ้นให้ร่างกายเกิดการสร้างภูมิคุ้มกันได้ รวมถึงการใช้โบที่มีส่วนประกอบในโครงสร้างจำพวกโปรตีนโมเลกุลใหญ่อย่าง Complexing Proteins ซึ่งมีรายงานการศึกษาทางการแพทย์ว่า จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาต่อต้านได้ แต่ที่หมอเคยพบ บางคนอาจดื้อโบโดยธรรมชาติตั้งแต่เกิดหรือในวัยเด็ก อาจจะไปติดเชื้อบางอย่างไม่รู้ตัว ส่งผลให้ภูมิต้านทานของร่างกาย ฉีดโบไม่ได้ผล
- ภาวะดื้อโบสามารถรักษาได้หรือไม่
คำตอบ: ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ต้องพักการฉีด อย่างน้อย 6 เดือน – 4 ปี รอเวลาให้ร่างกายลดการต่อต้าน หรือภูมิคุ้มกันน้อยลง ทำให้เห็นผลลัพธ์การใช้โบทูลินั่ม ท็อกซินได้อีกครั้ง
อัปเดตข้อมูลล่าสุด จากการเก็บตัวอย่างเลือดคนไข้ที่ดื้อโบ บางคนที่เลิกฉีดไปแล้วกว่า 5 ปี ก็ยังสามารถดื้อโบได้
- แพทย์หรือคนไข้จะทราบได้อย่างไรว่ามีการดื้อโบเกิดขึ้นแล้วจริงๆ
คำตอบ: จากการสังเกตผลของการรักษาด้วยตัวเอง ว่าได้ผลลัพธ์ที่น้อยลง หรือไม่เห็นผลลัพธ์หลังการรักษา รวมถึง การตรวจเลือดวินิจฉัยผ่านโครงการวินิจฉัยภาวะดื้อโบ โดยแพทย์ศิริราช ที่นำไปเลือดของผู้ที่สงสัยว่าจะดื้อ ไปตรวจวิเคราะห์ด้วยหลักการทางวิทยาภูมิคุ้มกัน เพื่อยืนยันผลว่าร่างกายมีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นจริง โดยวิเคราะห์ได้ว่าการดื้อของร่างกาย เป็นการดื้อต่อโมเลกุลของโบที่ออกฤทธิ์ หรือ ดื้อต่อโครงสร้างโปรตีนเจือปนที่มีปะปนอยู่ ทั้งนี้ ทุกท่านอาจเคยได้รับข้อมูลการประชาสัมพันธ์ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา
- การตรวจวินิจฉัยภาวะดื้อโบที่ศิริราช ปัจจุบันมีข้อมูลอัพเดทอย่างไรบ้าง
คำตอบ: ศูนย์วินิจฉัยภาวะดื้อโบ โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อาศัยความเชี่ยวชาญทางการตรวจวินิจฉัย และการเก็บตัวอย่างเลือดของผู้ที่สงสัยว่าตัวเองจะมีภาวะดื้อโบ จากข้อมูลล่าสุดในช่วงปี พ.ศ. 2564 – 2566 จำนวน 294 ราย พบว่ามีคนไข้จำนวน 157 ราย ที่มีผลการตรวจเป็นบวก และยืนยันว่ามีภาวะดื้อโบ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 53.4% และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
- ปัจจุบันมีแบรนด์ต่างๆ เยอะมากในท้องตลาด โบแต่ละยี่ห้อแตกต่างกันอย่างไร จะมีวิธีเลือกอย่างไรให้สวยได้อย่างปลอดภัย ไม่ดื้อโบ
คำตอบ: คุณหมอแนะนำจากประสบการณ์และมุมมองของคุณหมอ โดยอาจเสริมว่า แนะนำให้ใช้แบรนด์เดียว ไม่เปลี่ยนแบรนด์ไปมา และ เลือกแบรนด์ที่มีความบริสุทธิ์สูง ปราศจากโปรตีนเจือปนต่างๆ เพราะมีการศึกษาทางการแพทย์รับรองว่า ยิ่งบริสุทธิ์ ยิ่งกระตุ้นการดื้อโบได้น้อยกว่า
- ข้อแนะนำสำหรับคนที่ชอบฉีดโบให้ปลอดภัย ไม่เสี่ยงดื้อโบ
คำตอบ: คุณหมอแนะนำจากประสบการณ์และมุมมองของคุณหมอ โดยอาจเสริมในเรื่องของ
– เลือกใช้โบของแท้ ที่ได้รับมาตรฐานระดับโลก
– การเลือกใช้โบที่มีความบริสุทธิ์สูง ปราศจากคอมเพล็กซิ่งโปรตีนเจือปน
– การไม่ฉีดบ่อยเกินไป ควรเว้น 3-4 เดือน
– ฉีดโดสที่เหมาะสม เพื่อให้ไม่กระตุ้นการดื้อยา
– เลือกสถานพยาบาล คลินิก และคุณหมอที่มีมาตรฐาน
– การไม่เปลี่ยนแบรนด์ไปมา
คำถามเพิ่มเติม
- โบเจนใหม่ มีข้อดีแตกต่างจากโบอื่นๆ หรือ โบเจนเก่าอย่างไร
คำตอบ: มีความบริสุทธิ์สูงกว่า เพราะมีขั้นตอนการสกัดแบบ Double Purification ที่ช่วยให้ปราศจากคอมเพล็กซิ่ง โปรตีน จึงกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันน้อย และ ช่วยให้สวย ดูดีได้อย่างปลอดภัย
- โบเจนใหม่ช่วยรักษาภาวะดื้อโบได้หรือไม่
คำตอบ: ไม่ได้ แต่ช่วยลดโอกาสและความเสี่ยงต่อการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพราะมีความบริสุทธิ์สูง ปราศจากคอมเพล็กซิ่งโปรตีนเจือปนในโมเลกุล และจากการศึกษาของศูนย์วินิจฉัยภาวะดื้อโบ โดยแพทย์ศิริราช พบว่าผู้ที่มีภาวะดื้อโบ โดยดื้อต่อโปรตีนของโบ จะยังมีโอกาสใช้โบเจนใหม่เห็นผลอยู่
- โบเจนใหม่เหมาะกับใครบ้าง
คำตอบ: เหมาะกับทุกคนที่ต้องการใช้โบ ให้ได้ประสิทธิภาพดีตลอด เห็นผลในระยะยาว ลดความเสี่ยงต่อการดื้อโบ
- ฉีดโบเยอรมันมาก่อน แต่กลับไปเลือกใช้โบที่อาจมี Complexing Proteins จะทำให้ดื้อโบหรือไม่
คำตอบ: หากเลือกโบที่ได้มาตรฐาน ก็จะลดความเสี่ยงในเรื่องของความดื้อโบ ราคาโบที่แพงมักจะมากับเทคโนโลยีและขั้นตอนที่ซับซ้อน ทำให้โบประเภทนี้มีราคาที่สูง
- นัดฉีดโบไว้ แต่ไม่สบาย ต้องเลื่อนนัดกับคุณหมอหรือไม่?
คำตอบ: แนะนำให้เลื่อนนัดการฉีดไปก่อน เพราะเวลาไม่สบาย ภูมิคุ้มกันก็จะลดลง ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง ไม่เหมาะกับการเข้ารับหัตถาการฉีดโบที่เป็นโบทูลินั่ม ท็อกซิน
- ควรเริ่มฉีดโบตั้งแต่อายุเท่าไหร่?
คำตอบ: สามารถฉีดได้ตั้งแต่เด็ก เพราะบางคนก็เป็นโรคทางกล้ามเนื้อที่ต้องใช้โบตั้งแต่เด็ก
- หลังฉีดโบแล้วออกกำลังกายได้หรือไม่?
คำตอบ: สามารถออกกำลังกายได้ แต่ถ้าหน้าช้ำหรือบวมหลังการทำ แนะนำให้พัก 1-2 วันเพื่อให้แผลหายก่อนเริ่มออกกำลังกาย
- หลังฉีดโบแล้วดื่มแอลกอฮอลล์ได้หรือไม่?
คำตอบ: ดื่มแอลกอฮอลล์ได้หลังจากฉีด 1-2 วัน เพราะอาจทำให้เกิดการช้ำได้มากขึ้นได้
- เริ่มฉีดโบตั้งแต่อายุน้อย ทำให้หน้าอ่อนเยาว์มากขึ้น จริงหรือไม่?
คำตอบ: จากผลการวิจัย การเริ่มฉีดโบตั้งแต่อายุน้อย ทำให้ใบหน้ามีความอ่อนเยาว์กว่า เมื่อเทียบกับคนที่ไม่เคยฉีดโบมาตลอด หรือพึ่งเริ่มฉีดตอนมีอายุแล้ว