IN SEVENTH HEAVEN
ลิลี่ โอวาริ (LILY OVARY)
จัดงานฉลองครบรอบแต่งงาน 30 ปี
โดย โฆษิต จันทรทิพย์
จัดแสดงในวันวาเลนไทน์ 14 กุมภาพันธ์ 2567
ณ Head High Second Floor จังหวัดเชียงใหม่
เริ่มเวลา 20.00 น.
โฆษิต จันทรทิพย์ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2514 พำนักและทำงานที่เชียงใหม่ เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะสาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ย้อนไปเมื่อสามสิบปีก่อน วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 โฆษิต จันทรทิพย์ และ ลิลี่ โอวารี ตุ๊กตายางสาวได้เข้าสู่งานวิวาห์ ณ. คริสตจักรแห่งแรกในเชียงใหม่ นั่นถือเป็นความคิดอันสุดล้ำ เพราะโฆษิต จันทรทิพย์ ได้ปักหมุดหมายไว้ให้กับประวัติศาสตร์วงการศิลปะของประเทศไทยนับจากบัดนั้น
ในวันวาเลนไทน์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 นี้ขอเชิญทุกท่านร่วมงานฉลองครบรอบแต่งงาน 30 ปีที่ เฮดไฮด์เซ็กเคินด์ฟลอร์ (Head High Second Floor) ภายในงาน ท่านจะได้พบกับสถานที่จัดงานครบรอบที่พิเศษโดยศิลปิน ประดับประดาด้วยดอกไม้พลาสติก อาหารที่ทำจากพลาสติก และอื่นๆ อีกมากมาย อาทิรูปถ่าย ประติมากรรมดอกลิลลี่ ประติมากรรมเค้กแต่งงาน
และในโอกาสนี้ ผู้ร่วมงานสามารถสามารถซื้อของที่ระลึก อาทิ เสื้อยืด รูปถ่าย ภาพพิมพ์ใหม่ และประติมากรรมบางชิ้นได้
โฆษิตกับงานศิลปะของเขา “ลิลี่ โอวาริ (14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537)” แนวคิดหลักเริ่มต้นจากการวิพากษ์วิจารณ์สังคมพลาสติกในยุคบริโภคนิยม และเป็นการสะท้อนชีวิตทั่วไปของเราปุถุชนและต่อคนทั้งโลก นั่นคือเมื่อ 30 ปีที่แล้ว และนี่ก็เป็นเหตุผลที่เพียงพอแล้วที่จะเฉลิมฉลองชีวิต และความสัมพันธ์สุดแสนพิเศษในวันนี้
ลิลี่ โอวาริ ยังคงวนเวียนอยู่ในชีวิตของศิลปินผู้นี้ แม้ว่าเธอจะย้ายไปที่อื่นนานแล้ว หวังใจว่าเธอจะยังคงมีความสุขในชีวิต
โฆษิตยังคงใช้ชีวิต พัฒนา และเติบโตไปพร้อมกับลิลี่ โอวาริ เธอจะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตของเขาตลอดไป
การได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกันเองนั้นก็เป็นทางเลือกที่ดี ทว่าเราทุกคนต่างก็รู้ดีถึงความรู้สึกเหงาและการถูกทอดทิ้ง และต้องทนทุกข์ทรมานจากใจที่แตกสลาย และไม่ใช่ทุกคนที่เรารักจะยังคงอยู่ในชีวิตของเราตลอดไป แต่ในแง่เทคนิคแล้วตุ๊กตากลับสามารถเป็นเช่นนั้นได้
ในทุกวันนี้ คู่ชีวิตที่ถูกสร้างขึ้นจากเอไอจะเข้ามาแทนที่มนุษย์ได้หรือไม่นั้นข้าพเจ้าคิดว่าสำหรับบางคนนั้นคำตอบคือ “ใช่” อย่างไม่ต้องสงสัย นี่เป็นสิ่งที่เราได้รับรู้อยู่เนืองๆจากรายงานข่าวของผู้คนมีสติสัมปชัญญะที่ตัดสินใจใช้ชีวิตร่วมกับตุ๊กตาตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไป ไม่ว่าเพราะเหตุความรักที่ล้มเหลว หรือผิดหวัง หรือจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม
โฆษิตกับงานศิลปะของเขา “ลิลี่ โอวาริ (14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537)” มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้คนตระหนักรู้ถึงความจริงที่ว่าความรักนั้นไม่มีขีดจำกัด และเราควรก้าวข้ามแบบแผนทางสังคมใดๆ โลกอาจจะดีกว่านี้ถ้าหากไม่มีข้อจำกัดแบ่งแยกเรื่องความผิดแผกแตกต่าง ศิลปินผู้นี้มีวิสัยทัศน์ ยืนหยัดในสิ่งที่เขาคิดและพูด และเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนหนุ่มสาวจำนวนมากที่ยังคงมองหาที่ ๆ หนึ่งในการให้กับชีวิตที่มีคุณค่าเกินกว่าจะประเมินได้
ชีวประวัติของศิลปิน
โฆษิต จันทรทิพย์ ศิลปิน | อาจารย์ | หลักสูตรสาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์ ภาควิชาทัศนศิลป์ | คณะวิจิตรศิลป์ | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พำนักและทำงาน เชียงใหม่ | ประเทศไทย โฆษิต จันทรทิพย์ เกิดในปี 2514 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย
ปี 2532 โฆษิตได้เข้าศึกษาศิลปะจากสาขาจิตรกรรม คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โฆษิตมีความมุ่งมั่นที่จะค้นหา และสร้างสรรค์ผลงานศิลปะโดยให้ความสำคัญกับกระบวนการทางความคิด ปรัชญา ความหมาย กระบวนการทดลอง รวมถึงการสร้างทิศทางความเป็นไปได้อันหลากหลายของศิลปะร่วมสมัย โฆษิตเริ่มจัดแสดงนิทรรศการศิลปะทั้งเดี่ยว และกลุ่มอย่างต่อเนื่อง จนกระทั้งปี 2535 โฆษิตเข้าร่วมก่อตั้งเทศกาลศิลปะ “เชียงใหม่จัดวางสังคม” และกิจกรรม “สัปดาห์ร่วมทุกข์” ด้วยการชักชวนของอาจารย์อุทิศ อติมานะ มิตร ใจอินทร์ และนาวิน ลาวัลย์ชัยกุล ปี 2537 เป็นช่วงเวลาที่โฆษิตหมกหมุ่นอยู่กับอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ รัก โลภ โกธร หลง รวมถึงความสนใจต่อปรัชญาศาสนา ได้ส่งผลกระทบที่สำคัญสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อผลงานศิลปะของโฆษิตในเวลาต่อมา “ความรัก” กลายเป็นประเด็นสำคัญในเทศกาลศิลปะเชียงใหม่จัดวางสังคม ครั้งที่ 2 โฆษิตจัดงานแต่งงานของเขากับตุ๊กตายาง Lily Ovary ในวันวาเลนไทน์ ณ โบสถ์คริสตจักรที่หนึ่ง เชียงใหม่ จากนั้นในปีเดียวกันโฆษิตได้สร้างผลงานศิลปะการแสดงสด และจิตรกรรมทดลองด้วยเลือด และอสุจิของเขา “Kosit’s Blood in Alphabet of LOVE” และ “Happy Birthday 24, 1994” เป็นผลงานภายใต้โครงความคิด “ชีววัสดุ” (Bio Materials) ซึ่งโฆษิตเปรียบวัสดุจากร่างกายมนุษย์เหล่านี้เสมือนการส่งข้อความเชิงสัญญะ แนบสาระของชีวิตไปกับผลงานศิลปะ ปี 2540 โฆษิตตัดสินใจเข้าศึกษาทางด้านสื่อศิลปะที่ประเทศเยอรมันนี Academy of Media Arts เมืองโคโลญจน์ และ Academy of Visual Art เมืองไลพ์ซิก ปี 2546 โฆษิตเดินทางกลับประเทศไทย และเริ่มทำงานสอนศิลปะที่สาขาวิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปี 2556 ถึงปัจจุบัน โฆษิตได้ย้ายเข้ามาร่วมสอนอยู่ในสาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์ กับอาจารย์ผู้ริเริ่มและก่อตั้งหลักสูตร อารยา ราษฎร์จำเริญสุข ในโลกของศิลปะร่วมสมัยไทย โฆษิต จันทรทิพย์ เป็นที่รู้จักและถูกกล่าวถึงจากการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีความต่อเนื่อง มีความหลากหลายทั้ง แนวความคิด เทคนิค ทักษะ และวิธีการ ผลงานของโฆษิตไม่ว่าจะเป็นผลงานทางด้านทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดงสด ศิลปะจัดวาง ศิลปะดิจิตอล ศิลปะเชิงโต้ตอบ ศิลปะภาพถ่าย วิดีโอศิลปะ ภาพยนต์ศิลปะ สิ่งพิมพ์ และการออกแบบ โฆษิตมักจะแนบถ้อยแถลงที่สำคัญในนิทรรศการศิลปะอย่างตรงไปตรงมา มีทั้งที่ปรากฏอย่างเด่นชัด หรือบางครั้งก็แอบแฝงไปในส่วนต่างๆของผลงานศิลปะ ประเด็นหลักที่โฆษิตมักจะนำเสนอ คือ ประเด็นความสัมพันธ์ที่บอบบาง และซับซ้อนของมนุษย์ โดยเริ่มต้นจากอารมณ์ขั้นพื้นฐาน ความเกลียดชัง การใช้อำนาจที่เกินขอบเขต การใช้ความรุนแรง ความไม่เท่าเทียมในสิทธิความเป็นมนุษย์ เรื่องของเพศ วัฒนธรรมกลุ่มย่อย รวมไปถึงการตั้งคำถามต่อการพัฒนาความคิดทางศิลปะ เช่น ในปี 2548 โฆษิตจูบกับผู้ร่วมแสดงหญิงและชาย เป็นการตั้งคำถามต่อพฤติกรรมของมนุษย์ ภาษากาย การสื่อสาร เพศ ขอบเขต และเสรีภาพของชีวิต ในนิทรรศการ “Kiss” หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ต่อมาปี 2553 โฆษิตทำการค้นหาความเป็นอภิมนุษย์ในแง่มุมของมนุษยนิยม “Post-Superhumanity” อังกฤษแกลเลอรี่ และในปีเดียวกันนั้นเองโฆษิตได้นำเสนอเรื่องราวของวัฒนธรรมกลุ่มย่อยด้วยการส่งข้อความผ่านผิวหนังมนุษย์ “Skin Community” หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในปี 2559 “Allergic Realities” หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
โฆษิตนำเลือดของตัวเองมาสะท้อนเรื่องราวของความรุนแรงที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ครั้งนี้โฆษิตใช้ประเด็นเรื่องวัฒนธรรมทางสายตาเข้ามาท้าทายการรับรู้ของผู้คน สาขาวิชาสหศาสตร์ศิลป์ “ภาควิชาทัศนศิลป์ | คณะวิจิตรศิลป์ | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง เชียงใหม่ 50200 สำนักงาน 053 944821 | โทรสาร 053 944836 ” สถานที่ทำงานศิลปะ “208 หมู่ 5 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง เชียงใหม่ 50100 โทรศัพท์ 053 447626 | มือถือ 084 0431516” ติดต่อ kositjuntaratip@gmail.com